3. I - Cando Model (ณัฐพล รำไพ, 2544)
รูปแบบการจัดการความรู้ผ่านเว็บที่เสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครู
เป็นการนำเอาแนวคิดและหลักการของการจัดการความรู้(Knowledge Management) และการเรียนรู้ผ่านเว็บ (Web-based Learning) มาผสมผสานกับแนวคิดพื้นฐานการเรียนรู้ที่เน้นกิจกรรมผ่านเว็บ
เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้เรียน (Competency) โดยต้นแบบดังกล่าวได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ
(Systematic Approach) อันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ หลัก
ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output)
ปัจจัยนำเข้า
เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้ผ่านเว็บ (Elements of
Web-based Learning) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 3 ด้าน ได้แก่
ผู้เรียน (Student) ผู้สอน (Teacher) และปฏิสัมพันธ์
(Interaction) ทั้งนี้ลักษณะการเรียนรู้ดังกล่าวจะอาศัยความสามารถของเทคโนโลยีการเรียนรู้ผ่านเว็บ
3 ส่วน ได้แก่ เทคโนโลยีการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration Technology) เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology) และเทคโนโลยีฐานข้อมูล
(Storage Technology)
กระบวนการ
1.การค้นคิดและสรรค์สร้าง (Creating) คือ
กระบวนการสร้าง การกำหนด การแสวงหา การดำเนินการ การจัดหา
และการกำหนดเป้าหมายหรือการนิยามความรู้ให้ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้
ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมคิดค้นค้นหาตัวตน
2.การพิจารณาและคัดสรร (Analyzing) คือ
กระบวนการคิดวิเคราะห์ พิจารณาเลือกสรร กลั่นกรองความรู้
และการจัดประเภทหรือหมวดหมู่ความรู้ ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมชุมชนคนสนใจ
3.การลองทำและนำไปใช้ (Nurturing) คือ
กระบวนการนำเอาความรู้ที่หาได้มาจากการพิจารณา และเลือกสรรความรู้ มาฝึกกระทำ
หรือลองทำ และประยุกต์ใช้ความรู้ในทางปฏิบัติ ซึ่งทำให้ความรู้ฝังลึก (Tacit
Knowledge) สามารถถ่ายโอนและปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit
Knowledge)
4.การกระจายและแบ่งปัน (Disseminating) คือ
กระบวนการที่ได้จากการนำความรู้ไปลองทำ และประยุกต์ใช้ความรู้แล้วมาแบ่งปัน
แลกเปลี่ยน กระจาย และถ่ายโอนความรู้ร่วมกัน ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมชุมชนคนปฏิบัติ
5.การประเมินและปรับปรุง (Optimizing) คือ
กระบวนการนำเอาความรู้ที่ได้จากการเผยแพร่แล้วมาประเมินและปรับปรุงด้วยตนเองเพื่อนำไปใช้ในการทำงานการแก้ไขปัญหา
หรือการตัดสินใจต่างๆ ขับเคลื่อนโดยกิจกรรมแบบอย่างปฏิบัติที่เป็นเลิศ
ผลลัพธ์
ประกอบด้วยการประเมินสมรรถนะการเรียนรู้ของผู้เรียน(Competency) 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ (Knowledge) พิจารณาจากผลการประเมินตนเองของนักศึกษา
(Knowledge assessment) ด้านทัศนคติ (Attitude)พิจารณาจากผลการประเมินทัศนคติของนักศึกษา (Attitude assessment) และด้านทักษะ (Skill) พิจารณาจากผลการประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักศึกษา
(Performance assessment)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น