2. Xerox Model (ศรีไพร และเจษฎาพร,
2549)
รูปแบบของการจัดการความรู้
เป็นรูปแบบที่บริษัท Xerox Corporation ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จ
(ตามแนวคิดของ Mr. Robert
Osterhoff) และมีหลายองค์การในประเทศไทยที่มีการนำรูปแบบนี้มาเป็นกรอบแนวคิดในการจัดการความรู้
ประกอบด้วยกระบวนการดังนี้
การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (Transition and Behavior
Management) สร้างวัฒนธรรมที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมจะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร และความร่วมมือของบุคลากรทุกระดับ
การสื่อสาร (Communication)
องค์การต้องมีการวางแผนการสื่อสารอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง
และสม่ำเสมอ โดยคำนึงถึงเนื้อหา กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงช่องทางในการสื่อสาร
กระบวนการและเครื่องมือ (Process
and Tools) มีกระบวนการและเครื่องมือที่เหมาะสม
และเอื้อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์การ
เรียนรู้ (Learning)
เป็นการเตรียมความพร้อม
สร้างความเข้าใจเพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการความรู้
รวมถึงจัดการฝึกอบรมที่เหมาะสมให้กับบุคลากร
การวัดผล (Measurements) เลือกการวัดผลเพื่อให้ทราบถึงสถานะ ความคืบหน้า
และผลที่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะช่วยให้องค์การสามารถทบทวน
และปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายจองการจัดการความรู้
การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition
and Rewards) มีการยกย่องชมเชย และระบบการให้รางวัลเพื่อจูงใจให้บุคลากรเข้าร่วมกิจกรรม
โดยเป้าหมายของการจัดการความรู้จะถูกกำหนดให้สอดคล้องกับทิศทางในการดำเนินธุรกิจ
และเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น